วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

รถเลือกคน ไม่ใช่คนเลือกรถ











เป็นงานเป็นการหน่อยดีกว่า
เริ่มตรงไหนดี..


คนไทยซื้อรถผิดจุดประสงค์ค
นทำ - ดีไหม

แม้จุดประสงค์แท้จริงแล้วสูงสุดก็คือซื้อและเอาเงินมาให้ตรูซะดีๆอยู่แล้วก็ตาม

แต่เอาจากมุมคนทำแล้ว คนไทยซื้อรถผิดวิธี












เรื่องที่เห็นผ่านสื่อหนังสือ เว็บบอร์ด นักวิจารณ์ผู้เชี่ยวชาญรถ
เหล่านี้ทั้งหลายทั้งปวงผมถือเป็นองค์ความคิดรวมของสังคมได้ไหม

เพราะใครจะซื้อรถ หรือสนใจรถ ก็
ต้องอ่าน
อ่านแล้วก็คิดตาม


คลื่นก็จะรวมๆกันในสังคมก่อตัวเป็นองค์ความคิดรวมของสังคมนั้นๆต่อเรื่องใดๆ


วกวนดีแท้

แต่เอางี้

ขั้นแรก จำเรื่องทรานส์ฟอร์เมอร์ได้ไหม
หมอคนขายรถนั่นบอกว่า

คนไม่ได้เลือกรถ รถต่างหากที่เลือกคน - ถูก!!

คำพูดนี้ถูกต้องแบบย้อนไปถึงเส้นแรกที่ลากลงบนกระดาษเลยทีเดียว
เพราะก่อนจะลากเส้นแรกนั้น รถคันนั้นได้ระบุเจ้าของไว้ก่อนแล้ว


ว่าเป็นใคร ทำอะไร ที่ไหน อายุเท่าไหร่ รายได้เท่าไหร โสดหรือมีครอบครัว
แนวทางการใช้ชีวิตเป็นอย่างไร

ข้อมูลทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ถูกสังเคราะห์
และวิเคราะห์จนออกมาได้เป็นข้อสรุปของฟังค์ชั่

และทิศทางของอะไรทุกอย่างมาตั้งแต่ไหนแต่ไร


เป็นเรื่องปกติที่ใครเรียนวิจั
ย หรือการตลาดรู้ดี
ถึงเรื่องการวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์

แต่ที่ถูกกว่านั้นไปอีกก็คือ
รถแต่ละคันแทบจะต้องระบุบุคคลจากการรู้จักได้เลยทีเดียว

ว่ารถคันนี้ถูกทำมาให้ใคร
ระบุได้จากสิ่งแรกเลยคือประเภทรถ(Type) ขนาด(size&scale)
สัดส่วน(Proportion) และเส้นสายเอกลักษณ์(DNA & DesignLanguage)

เช่น คนขับแอคคอร์ดกับคัมรี เป็นกลุ่มที่ใกล้เคียงกันมาก
เขาระบุตัวตนได้อย่างไร - แต่เขาระบุไว้แล้วชัดเจน


หากไม่คิดแบบไทย ที่ว่าคัมรี่กับแอคคอร์ดตัวไหนน่าเล่นกว่ากัน
ได้ออพชั่นอะไรบ้าง ช่วงล่างยังไง อันไหนคุ้มกว่า

การเริ่มคิดเพื่อออกแบบรถนั้น เขาเริ่มจากอีกอย่างครับ

หันมาย้อนดูตัวเลย - คุณเป็นใคร
คุณเป็นใคร เป็นตัวคุณเองให้ดีที่สุด

เข้าใจตัวเองให้ชัดที่สุดแล้วจะรู้ว่าคัมรี่กับแอคคอร์ดแบ่งแคแร็คเตอร์ลูกค้ากันตรงไหน
จุดละเอียดอ่อนบางตรงไหนที่แบ่งความเป็นคัมรี่กับแอคคอร์ด

บารมี..

คนขับคัมรี่กับแอคคอร์ด คนออกแบบจะแบ่งสองคนออกจากกันด้วยบารมีของแต่ละคน
แต่ละคนมีบารมีคนละอย่าง


คนขับคัมรี่ หากมองจากพรอพพอร์ชั่นก่อนก็ต้องบอกว่าเป็นคนมีความเพ้อฝันน้อยกว่าแอคคอร์ด

มิติแสงเงาค่อนข้างเกิดขึ้นภายในฟอร์มหลักที่ยูนิตี้
ไม่มีความสะบัดหรือหักเลี้ยวรุนแรงแบบผลีผลาม

ที่สำคัญแอคคอร์ด ให้ภาพที่มีความทะเยอทะยานเชิงเทคโนโลยีมากกว่าคัมรี่

อะไรประมาณนั้น


ง่ายกว่านั้นก็คือ

หากมีแค่สองตัวเลือกนี้ ผู้บริหารหนุ่มกำลังอยากได้รถมาขับทำงานเองสักคัน
คัมรี่จะเป็นของผู้บริหารที่ออกแนวบริหาร ทั้งคน ทั้งงาน
ส่วนแอคคอร์ดจะเป็นของผู้บริหารที่ออกแนวเทคโนโลยี

จำพวกลูกเจ้าของที่มารับช่วงสร้างแผนกอาร์แอนด์ดี ก็เข้าทีอยู่
อันนี้ยังก้ำกึ่ง
แต่คนซื้อรถ(แบบที่รถระบุเจ้าของไว้)จะทำอย่างนั้นจริงๆ

ซึ่งเรื่องแบบนี้พิสูจน์ได้ยากในตลาดเมืองไทย ที่ซื้อรถกันเยอะมาก

แต่เห็นถามเรื่องตัวไหนน่าเล่นแล้วผมรู้สึกหงุดหงิด
เพราะเรื่องทางวิศวกรรม หรือทางเทคโนโลยี
หากเป็นรถร่วมสมัยเดียวกันแล้ว ผมว่าให้เป็นเรื่องรองไว้ดีกว่า

เรื่องความคุ้ม ไม่ต้องก็ได้ หากคุณเป็นกลุ่มเป้าหมายของรถคันนี้จริง
ราคารถและของแถมไม่จำเป็นต้องเอามาเป็นเหตุผลหลัก


รถสมัยนี้เขาสร้างมาสำหรับการบริโภคเชิงสถานะอยู่แล้ว


เราสนับสนุนให้คนไทยซื้อรถแบบให้รู้จักตัวเองดีๆ

แล้วค่อยมองไปที่รถคันนั้นไม่ต้องลึกมาก แต่ให้รู้จักเข้าใจและปิ๊งกัน



แล้วค่อยซื้อ จะได้ไม่ทำร้ายน้ำใจคนทำ


ไม่มีความคิดเห็น: