วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

PajeroSport Design predict

ตอนซัก 2 ปีก่อน โดนดองในดง engineer เชิงอะไรไม่รู้อยู่นาน(ไปอยู่ตรงนั้นได้ยังไงเรื่องมันยาว)
เรื้อsketchไปนาน พอมี job เล็กๆ ของ mitsubishi 3e45(หรือ CR45 หว่า)ก็มาวาดรูประบายสีเล่นๆช่วยวินปั่นงานด่วน Job win เป็น Interior เห็นว่าไร้สาระหากไม่มี Exterior ไว้อ้างอิง
ก็เลยทำดื้อๆซะงั้น


เป็นdesign predict ที่ทำนาย PPV ของ Triton เอาไว้

บนพื้นฐานของ image จาก Pajero และ Outlander

งานเมื่อ Jun-Jul. 2006 นะครับ






























จำไม่ค่อยได้ แต่่ว่าที่เดาไม่ถูกหลายจุด เช่นลายเส้นที่ original นั้นตวัดชายยาวกว่า มัดกล้ามที่บั้นท้ายนั้น ผิดเต็มๆ

ตอนนั้นเข้าใจว่ามันจะถ่าย SurfaceTriton ไปทั้งหมด

ส่วน front grill, Front Bmpr, Lower Guard และ FogLamp นั้น จากที่หาข้อมูลและใช้ตัวช่วยหลายๆอย่าง ออกมาค่อนข้างใกล้เคียง ประมาณ 90%






























ไฟท้ายนั้น เดาว่าน่าจะเล่น profile shape แบบ Pajero ซึ่ง Original design กลับให้ความพริ้วไหว กว่ามาก แล้วยังดันไปพ้องกับไฟท้าย new altis เสียอีกเส้น Rr windshield ที่เว้น step หลายครั้งทั้งไฟท้ายและ Logo ก็ไม่ได้เว้นไว้เหมือนกัน

ตอนนั้นก็ช่างใจอยู่ แต่สุดท้ายคิดว่าเยอะไป เลยไม่ใส่ให้



ก็พอหยวนนะ ใกล้อยู่พอสมควร

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

Honda City 2008









































































Honda city ใหม่
สวยดี ภาษาก็ดี proportion ก็ดี

ส่วนผสมกลมกล่อมนะ concept คือคันธนูที่โก่งพร้อมปล่อยจากแหล่ง
เส้นหลังคาตั้งแต่ A-pillar จน C-Pillar เอนลาดถ่ายจาก Civic จนรับรู้ได้อย่างชัดเจน

สอดคล้องกับ Civic 2009 ที่เอาโฉมที่ทำไว้เลือกๆในหลายZone มาขยายความ
แบบนี้














อยากเอาพี่น้องท้องเดียวกันของสองยี่ห้อยักษ์ในประเทศ แล้วเอามาวางเรียงกัน

ลูกสาวบ้านไหนเป็นยังไง คงเห็นกันทีนี้


วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

Aesthetic from difference angle2

หน้าตารถยนต์ใน Generation ต่อไป มีอะไรบางแนวทางแปลกไปจนน่าประหลาดใจ

แต่เดิมการSketch รถยนต์นั้น นักออกแบบจะถือรสนิยมส่วนตัว ที่จะเลือกมองแบบรถของเขาในมือจากมุมมองไหนก็ได้
แต่เชื่อหรือไม่ มุมส่วนใหญ่ที่ถือว่าวาดรถได้สวยที่สุด คือมุมจากการนั่งยองๆมอง
เป็นความเห็นแก่ตัวอย่างที่สุดลึกๆอย่างหนึ่งที่ใครก้าวล้ำไม่ได้(แบบลับๆ) ว่ารายละเอียดของความงามจากเส้นสายและ Hilight ของ Surface นั้นจะมองได้สวยครบ

ต้องเว้นระยะห่าง หรือไม่ก็มองจากระยะสายตาของคนขับรถอีกคัน
หรืออาจจะเตี้ยกว่านั้นแถวๆสูงกว่าไฟหน้านิดหน่อย
แต่การมองจากระยะห่างนั้น ให้รายละเอียดครบก็จริง แต่จะให้ภาพแบบมองจากเลนส์เทเล สำหรับนักออกแบบแล้วถือว่าขาด Motive ไปนิด มันทำให้รถดูออกไปทาง "จอดไว้เฉยๆ" มากเกินไป








ซึ่งใครไม่รู้ เริ่มประเด็นว่า รถที่ดีควรจอดเฉยๆแล้วรู้สึกว่ามีความเคลื่อนไหว - ถูก!!

อ.เหลืองมาเองหรือเปล่าเนี่ยย















ดังนั้น นักออกแบบส่วนใหญ่จึงsketch รถในมุมแบบ มองระยะใกล้ด้วยเลนส์ Wideangle ซึ่งภาพที่ออกมาจะมีการบิดเบี้ยวของ perspective สูง ล้อบิดเลี้ยวบ่งบอกว่ารถกำลังเคลื่อนที่อยู่ และบางทีกำลังเลี้ยวผ่านหน้าคุณไป

บ้างก็โผล่เส้น Hilight มาแว่บๆ ให้วิศวกรเดา form และ proportion จริงกันให้ปวดหัวเล่นๆไปงั้น

กระจกบังลมหน้า และห้องโดยสารถูกบีบให้แบนราบไปกับตัวรถมากๆ ซึ่งหากมองจากกล้องมุมกว้างจริงๆแล้วมันไม่ได้แบนเตี้ยขนาดนั้น แต่ innitial ของมันหารู้ไม่ว่านักออกแบบอคติกับส่วนของกระจกบังลมหน้าและห้องโดยสารมาก

ราวกับมันเป็นติ่งส่วนเกินของรถออกมาที่เลี่ยงไม่ได้ และต้องการหลอกการมีอยู่ของมันให้มากที่สุด

เรื่องนี้ไม่มีใครพูดกันเป็นเรื่องราวสาธารณะ แต่เห็นกันชัดเจนเรื่องการปรับองศาของเสาA-Pillar ให้ทำมุมแหลมมากยิ่งๆขึ้นในรถปัจจุบัน หนึ่งก็ช่วยเรื่องอากาศพลศาสตร์ในตัว และหนึ่งนักออกแบบพอใจที่จะเห็นรถใหม่ๆมีความเป็น Unity ของ form ที่มากขึ้น

รายละเอียดของ กระจังหน้าและส่วนกันชนเป็นเนื้อหาส่วนใหญ่ของการออกแบบรถด้านหน้านั้น หากเป็นรถจริงกลับเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ยากกว่ากระจกหน้าด้วยซ้ำ


ด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจนี้ นักออกแบบผู้เอาแต่ใจตัวเอง แก้ไขอย่างนี้ครับ

1. ยกรายละเอียดของชุดไฟหน้าให้สูง กระจังหน้าขยายขึ้น เอารายละเอียดขึ้นด้านบนให้มากเข้าไว้
พอยืนมองก็จะเห็นอะไรๆหมด













Ford Fiesta แก้ปัญหาการต้องนั่งยองๆดู Design


2. ดื้อๆ ด้วยการทำหลังคาแบนๆ ใครจะเอา Regulation มาอ้างขนาดหน้าต่างไม่สนใจ
วิศวกรการผลิตรับเคราะห์ด้วยการไปหาวัสดุใหม่ มาทำกระจกข้างขยักได้ ให้ proportion ของรถแบนบนอ้วนล่างได้ใจของนักออกแบบอเมริกันจริงๆ












Chevrolet Volt. ทิ้งร่องรอยให้สงสัยว่าเขาตกลงกันได้อย่างไร


ความดื้อของนักออกแบบ ฝรั่งมักให้เครดิต

แต่หากเป็นคนไทยเรา ไม่โดนรุมบ่น ก็โดนพับแบบครับ

Aesthetic from differnce angle

เรื่องของความแตกต่างในมุมมองต่อความงามนั้น อยู่คู่งานศิลปะมาตั้งแต่มีศิลปะ

สิ่งที่ทำให้เกิดการมองต่างมุมนั้นก็คือสิ่งที่เรียกรวมๆว่าประสบการณ์ - ทราบกันดีอยู่แล้ว
ศิลปะจึงถูกละไว้ในฐานที่ไม่เข้าใจตรงกัน ว่าเป็นเรื่องที่ไม่มีถูกผิด ดีหรือไม่ดี
เป็นเรื่องของมุมมองล้วนๆ การประสบความสำเร็จในงานศิลปะจึงอาจเรียกได้ว่า คือการสามารถโน้มน้าวให้คนมานิยมชมชอบในมุมเดียวกับผู้ผลิต หรือไม่ก็ไปทำงานให้ตรงกับจริตของผู้เสพหมู่ใหญ่ให้ได้มากที่สุด

หากว่ากันด้วยปริมาณนะ

แต่เห็นๆอยู่มากมายว่า บางครั้งงานศิลปะที่สัมผัสแรกกับสัมผัสหลังการโน้มน้าวนั้น ให้รสชาติที่ต่างกัน(เรามักจะคล้อยตามศิลปินเสียเป็นส่วนใหญ๋)

บางครั้งการพยายาม โน้มน้าวของศิลปินก็ทำให้เรารำคาญก็มี - กรณีที่เห็นว่างานหยดเดียวจะให้ซื้อทั้งกะละมัง ประมาณนั้น

การเสพงานศิลปะบางทีจึงอาจต้องใช้คำว่าตัวใครตัวมันในหลายมิติเลยทีเดียว - ฮา


ไม่ฮาเหรอ - แป้กก็ได้




นักออกแบบในสไตล์ Inspiration เป็นกลุ่มที่น่าจะยกให้เป็นนักโน้มน้าวที่เก่งที่สุดแบบหนึ่ง
นอกจากตัวงานเองจะนำ inspiration ของสรรพสิ่ง มาlink ให้กับคนเสพไปสัมผัสกับธรรมารมณ์บางอย่างได้อย่างเป็นรูปธรรม ชัดเจนเจาะจง และวงกว้างแล้ว

พบว่ามักจะเป็นนักโน้มน้าวชั้นยอด
อันนี้ต้องยกให้เขานะ

ต่างกับศิลปิน

ศิลปินบางทีต้องไปบำเพ็ญตัวให้สัมผัสถึงความงามอะไรบางอย่างอยู่ก่อน
แล้วถ่ายทอดเผื่อแผ่มายังปุถุชน ที่ต้องการสัมผัสเสพรสอันละเมียดนั้นด้วย
โดยการเสพงานศิลปะของเขา

นั่นคือเอกบุรุษศิลปินที่อาจยกได้


แต่นักออกแบบนั้นง่ายกว่า - ลักไก่ได้ว่างั้นเหอะ
ความงามง่ายๆ ไม่ต้องลึก แต่เร็ว ชัด ง่าย
เช่นเอาลายธรรมชาติ หินดินทรายไม้น้ำ หยิบจังหวะเรื่องราวบางอย่าง
มาใส่ในงานอย่างมีชั้นเชิง ก็สื่อได้อย่างชัดเจนแล้ว

เป็น Soft sense ที่หมายถึงสัมผัสได้โดยที่ไม่ต้องทำอารมณ์ให้ลุ่มลึกมากเกินเวลาใช้สอย







....





อ่า - จริงๆจะเขียนเรื่องมุมมองของนักออกแบบรถยนต์ มีผลกับโลกของแบบรถยนต์ในอนาคตอย่างไรต่างหาก

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

Honda Insight Concept


Honda Insight Concept - Image Gallery
The Honda Insight Concept เปิดตัวในงาน Paris Motor Show ในร่างของ hybrid hatcback 5ประตู
ออกมาหยั่งเิชิงสำหรับการ production ในปี 2009(เมืองนอกนู่นแหละ) บ้านเราคงต้องรอบ.หน้าปากซอยเอาเข้ามาปล่อย

design นั้นดูคลี่คลายโดยตรงมาจาก FCX Clarity เวอร์ชั่น Hydrogenที่ทางHonda ออกมาค้ำไว้ก่อน
ในขณะที่รถไฮโดรเจนจะมีความเป็นจริงจังเอาก็อีกเป็นสิบปีข้างหน้า การทำรถProduction ที่มี Image Link ไปยังรถรุ่นที่สูงกว่า่และได้รับการยอมรับ จึงเป็นกลยุทธ์การตลาดไม้ตายอย่างหนึ่งที่บ.รถยนต์ทุกยี่ห้อมีและนำมาใช้กันเป็นล่ำเป็นสัน

Fortuner ก็มี Image Link ไปยัง Harrier,
Mutsubishi Pajero Sport รถPickUp ดัดแปลงรหัสพัฒนา CR45 ก็มี Imagelink มาจาก Pajero

insight ตัวนี้ก็ไม่เว้นกัน

Honda Insight, FCX Clarity and CR-Z Concepts Honda Insight, FCX Clarity แล้วก็ CR-Z

ชื่อ Insight ก็มาจากรถ Hybrid ชื่อเดียวกันที่ออกมาครั้งแรกเรียกความฮือฮาตั้งแต่ปี 1999 ซึ่งครั้งนั้นโลกก็ตื่นเต้นกับคำว่า Hybrid เหมือนกับตอนนี้ที่ตื่นเต้นกับ Hydrogen(เรื่องนี้ว่ากันอีกยาว)

Honda Insight Concept - front end detail

ชุดหน้ารถนี้เป็น Language ใหม่ ที่city ใหม่ในบ้านเราก็จะยืมมาอีกทอดหนึ่ง
เห็นได้ชัดเจนว่า ผนวกระหว่าง wings จาก Civic และด้านล่างดูปากห้อยๆนั้น
มาจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นในความมีอรรถประโยชน์แบบสปอร์ต ของรถใหญ่กว่า

ส่วนตัวแล้วเป็นการขยายความคำว่า wing ที่ไม่เลวนะครับ

บางครั้งการได้เห็น Original design จาก Brand เลยนี่ก็เหมือนอ่านเฉลยข้อสอบที่่เราคิดอยู่เหมือนกันว่ามันน่าจะออกมาอย่างไร


ส่วนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยนี่เป็นสิทธิ์จากประสบการณ์ส่วนตัว ต่อให้chief เขาเดินมาบอกก็บังคับไม่ได้

The first generation Honda Insight (1999-2006)

The first generation Honda Insight (1999-2006) ไม่รู้จะปิดซุ้มล้อไปทำไม่นะ

ไม่เพื่อ AeroDynamic ก็เพราะมอเตอร์ไฟฟ้าขับล้ออยู่ด้านหลัง(อันนี้สารภาพว่าขี้เกียจรื้อlayout ดู)
หรือไม่ก็ link ไปหารถประมาณนี้เก่าๆ รถอเมริกันซักรุ่น


(Source: CarBodydesign,Honda)


That's my Wing



เป็นเรื่องเป็นราวอึกอัก กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของวงการ Design language
เมื่อตั้งแต่ Kia ลาก Peter Scheyer มาเป็นหัวหน้าชุดทะลวงฟัน
ฝ่าดงหญ้าของภาษาออกแบบที่พันกันยุ่งอีนุงตุงนังของหลากหลายยี่ห้อ
หลากหลายchief และหลากหลาย designer

ที่พากันโหมกระหน่ำ สร้างงานทดลอง design language
จาก DNA เดิม ลากกันไปยังสุดโต่งเกือบตกขอบของการรับรู้
ว่ามันยังเป็นภาษาเดิมอยู่

เล่นกันตั้งแต่สุภาพเรียบร้อย ยันกระโชกโฮกฮากสุดๆ


ฟังไม่รู้เรื่อง ไม่ได้ศัพท์ ล้มเหลวไม่เป็นท่าไปแล้วก็หลายโปรเจ็ก..



เฮียเชรเยอร์แกมาจากเอาดิ่ ก็พกภาษาล่าสุดของวงการออกแบบมาด้วย

เป็น butterfly's wing language ซึ่งใหม่เอี่ยมอ่องของระดับแบรนด์
แต่เห็นนานแล้วพร้อมๆกับ Hexa & pararell line จากงานนักศึกษา แถบๆ RCA และ Coventry.



งานนักศึกษาคาดการณ์แนวนี้ไว้รอแต่บ.รถยนต์ไหนจะรวบรวมแนวคิดให้เป็นรูปธรรมและset ให้เป็น Language ใหม่ขึ้นมา

ระหว่างนั้น ก็มี brand ต่างๆลองให้รถคอนเซ็ปตัวเองพูดไว้หลายคันอยู่

เฮียเชรเยอร์ที่เป็นคนทำเส้นไว้ที่ Audi TT เอามาใช้เป็นของที่ทำงานใหม่แกซะเลย
เป็นแนวก้ำกึ่งของยูโรเปี้ยน และตะวันออกแบบ Wings ของHonda ตอนนี้


เลยกลายเป็นว่า Wings ใน Design language นั้นมีพูดกัน 2 ยี่ห้อ
เจ้าเดิมคือฮอนด้า เป็น Wing of Dream ขายความฝัน
ส่วนเจ้าใหม่ Kia เป็น Wing of Technology ประมาณนั้น แกยังไม่ได้ระบุ





wing กับ butterfly symbol นั้น kia ฉวยโอกาสที่เปิด design center ใหม่
ก็จะทดลองเอามา match กันให้ได้ก่อน

Kia Kee คือตัวที่ดูชัดเจนที่สุดที่สั่นสะเทือนวงการในหมัดแรกๆ
หลังๆ ใครๆก็เอาภาษาแบบ kee ไปใส่ในรถตัวเอง




สวยกันไปคนละแบบสองแบบ



ต้องว่ากันยาวๆ

รถเลือกคน ไม่ใช่คนเลือกรถ











เป็นงานเป็นการหน่อยดีกว่า
เริ่มตรงไหนดี..


คนไทยซื้อรถผิดจุดประสงค์ค
นทำ - ดีไหม

แม้จุดประสงค์แท้จริงแล้วสูงสุดก็คือซื้อและเอาเงินมาให้ตรูซะดีๆอยู่แล้วก็ตาม

แต่เอาจากมุมคนทำแล้ว คนไทยซื้อรถผิดวิธี












เรื่องที่เห็นผ่านสื่อหนังสือ เว็บบอร์ด นักวิจารณ์ผู้เชี่ยวชาญรถ
เหล่านี้ทั้งหลายทั้งปวงผมถือเป็นองค์ความคิดรวมของสังคมได้ไหม

เพราะใครจะซื้อรถ หรือสนใจรถ ก็
ต้องอ่าน
อ่านแล้วก็คิดตาม


คลื่นก็จะรวมๆกันในสังคมก่อตัวเป็นองค์ความคิดรวมของสังคมนั้นๆต่อเรื่องใดๆ


วกวนดีแท้

แต่เอางี้

ขั้นแรก จำเรื่องทรานส์ฟอร์เมอร์ได้ไหม
หมอคนขายรถนั่นบอกว่า

คนไม่ได้เลือกรถ รถต่างหากที่เลือกคน - ถูก!!

คำพูดนี้ถูกต้องแบบย้อนไปถึงเส้นแรกที่ลากลงบนกระดาษเลยทีเดียว
เพราะก่อนจะลากเส้นแรกนั้น รถคันนั้นได้ระบุเจ้าของไว้ก่อนแล้ว


ว่าเป็นใคร ทำอะไร ที่ไหน อายุเท่าไหร่ รายได้เท่าไหร โสดหรือมีครอบครัว
แนวทางการใช้ชีวิตเป็นอย่างไร

ข้อมูลทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ถูกสังเคราะห์
และวิเคราะห์จนออกมาได้เป็นข้อสรุปของฟังค์ชั่

และทิศทางของอะไรทุกอย่างมาตั้งแต่ไหนแต่ไร


เป็นเรื่องปกติที่ใครเรียนวิจั
ย หรือการตลาดรู้ดี
ถึงเรื่องการวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์

แต่ที่ถูกกว่านั้นไปอีกก็คือ
รถแต่ละคันแทบจะต้องระบุบุคคลจากการรู้จักได้เลยทีเดียว

ว่ารถคันนี้ถูกทำมาให้ใคร
ระบุได้จากสิ่งแรกเลยคือประเภทรถ(Type) ขนาด(size&scale)
สัดส่วน(Proportion) และเส้นสายเอกลักษณ์(DNA & DesignLanguage)

เช่น คนขับแอคคอร์ดกับคัมรี เป็นกลุ่มที่ใกล้เคียงกันมาก
เขาระบุตัวตนได้อย่างไร - แต่เขาระบุไว้แล้วชัดเจน


หากไม่คิดแบบไทย ที่ว่าคัมรี่กับแอคคอร์ดตัวไหนน่าเล่นกว่ากัน
ได้ออพชั่นอะไรบ้าง ช่วงล่างยังไง อันไหนคุ้มกว่า

การเริ่มคิดเพื่อออกแบบรถนั้น เขาเริ่มจากอีกอย่างครับ

หันมาย้อนดูตัวเลย - คุณเป็นใคร
คุณเป็นใคร เป็นตัวคุณเองให้ดีที่สุด

เข้าใจตัวเองให้ชัดที่สุดแล้วจะรู้ว่าคัมรี่กับแอคคอร์ดแบ่งแคแร็คเตอร์ลูกค้ากันตรงไหน
จุดละเอียดอ่อนบางตรงไหนที่แบ่งความเป็นคัมรี่กับแอคคอร์ด

บารมี..

คนขับคัมรี่กับแอคคอร์ด คนออกแบบจะแบ่งสองคนออกจากกันด้วยบารมีของแต่ละคน
แต่ละคนมีบารมีคนละอย่าง


คนขับคัมรี่ หากมองจากพรอพพอร์ชั่นก่อนก็ต้องบอกว่าเป็นคนมีความเพ้อฝันน้อยกว่าแอคคอร์ด

มิติแสงเงาค่อนข้างเกิดขึ้นภายในฟอร์มหลักที่ยูนิตี้
ไม่มีความสะบัดหรือหักเลี้ยวรุนแรงแบบผลีผลาม

ที่สำคัญแอคคอร์ด ให้ภาพที่มีความทะเยอทะยานเชิงเทคโนโลยีมากกว่าคัมรี่

อะไรประมาณนั้น


ง่ายกว่านั้นก็คือ

หากมีแค่สองตัวเลือกนี้ ผู้บริหารหนุ่มกำลังอยากได้รถมาขับทำงานเองสักคัน
คัมรี่จะเป็นของผู้บริหารที่ออกแนวบริหาร ทั้งคน ทั้งงาน
ส่วนแอคคอร์ดจะเป็นของผู้บริหารที่ออกแนวเทคโนโลยี

จำพวกลูกเจ้าของที่มารับช่วงสร้างแผนกอาร์แอนด์ดี ก็เข้าทีอยู่
อันนี้ยังก้ำกึ่ง
แต่คนซื้อรถ(แบบที่รถระบุเจ้าของไว้)จะทำอย่างนั้นจริงๆ

ซึ่งเรื่องแบบนี้พิสูจน์ได้ยากในตลาดเมืองไทย ที่ซื้อรถกันเยอะมาก

แต่เห็นถามเรื่องตัวไหนน่าเล่นแล้วผมรู้สึกหงุดหงิด
เพราะเรื่องทางวิศวกรรม หรือทางเทคโนโลยี
หากเป็นรถร่วมสมัยเดียวกันแล้ว ผมว่าให้เป็นเรื่องรองไว้ดีกว่า

เรื่องความคุ้ม ไม่ต้องก็ได้ หากคุณเป็นกลุ่มเป้าหมายของรถคันนี้จริง
ราคารถและของแถมไม่จำเป็นต้องเอามาเป็นเหตุผลหลัก


รถสมัยนี้เขาสร้างมาสำหรับการบริโภคเชิงสถานะอยู่แล้ว


เราสนับสนุนให้คนไทยซื้อรถแบบให้รู้จักตัวเองดีๆ

แล้วค่อยมองไปที่รถคันนั้นไม่ต้องลึกมาก แต่ให้รู้จักเข้าใจและปิ๊งกัน



แล้วค่อยซื้อ จะได้ไม่ทำร้ายน้ำใจคนทำ