เรื่องของความแตกต่างในมุมมองต่อความงามนั้น อยู่คู่งานศิลปะมาตั้งแต่มีศิลปะ
สิ่งที่ทำให้เกิดการมองต่างมุมนั้นก็คือสิ่งที่เรียกรวมๆว่าประสบการณ์ - ทราบกันดีอยู่แล้ว
ศิลปะจึงถูกละไว้ในฐานที่ไม่เข้าใจตรงกัน ว่าเป็นเรื่องที่ไม่มีถูกผิด ดีหรือไม่ดี
เป็นเรื่องของมุมมองล้วนๆ การประสบความสำเร็จในงานศิลปะจึงอาจเรียกได้ว่า คือการสามารถโน้มน้าวให้คนมานิยมชมชอบในมุมเดียวกับผู้ผลิต หรือไม่ก็ไปทำงานให้ตรงกับจริตของผู้เสพหมู่ใหญ่ให้ได้มากที่สุด
หากว่ากันด้วยปริมาณนะ
แต่เห็นๆอยู่มากมายว่า บางครั้งงานศิลปะที่สัมผัสแรกกับสัมผัสหลังการโน้มน้าวนั้น ให้รสชาติที่ต่างกัน(เรามักจะคล้อยตามศิลปินเสียเป็นส่วนใหญ๋)
บางครั้งการพยายาม โน้มน้าวของศิลปินก็ทำให้เรารำคาญก็มี - กรณีที่เห็นว่างานหยดเดียวจะให้ซื้อทั้งกะละมัง ประมาณนั้น
การเสพงานศิลปะบางทีจึงอาจต้องใช้คำว่าตัวใครตัวมันในหลายมิติเลยทีเดียว - ฮา
ไม่ฮาเหรอ - แป้กก็ได้
นักออกแบบในสไตล์ Inspiration เป็นกลุ่มที่น่าจะยกให้เป็นนักโน้มน้าวที่เก่งที่สุดแบบหนึ่ง
นอกจากตัวงานเองจะนำ inspiration ของสรรพสิ่ง มาlink ให้กับคนเสพไปสัมผัสกับธรรมารมณ์บางอย่างได้อย่างเป็นรูปธรรม ชัดเจนเจาะจง และวงกว้างแล้ว
พบว่ามักจะเป็นนักโน้มน้าวชั้นยอด
อันนี้ต้องยกให้เขานะ
ต่างกับศิลปิน
ศิลปินบางทีต้องไปบำเพ็ญตัวให้สัมผัสถึงความงามอะไรบางอย่างอยู่ก่อน
แล้วถ่ายทอดเผื่อแผ่มายังปุถุชน ที่ต้องการสัมผัสเสพรสอันละเมียดนั้นด้วย
โดยการเสพงานศิลปะของเขา
นั่นคือเอกบุรุษศิลปินที่อาจยกได้
แต่นักออกแบบนั้นง่ายกว่า - ลักไก่ได้ว่างั้นเหอะ
ความงามง่ายๆ ไม่ต้องลึก แต่เร็ว ชัด ง่าย
เช่นเอาลายธรรมชาติ หินดินทรายไม้น้ำ หยิบจังหวะเรื่องราวบางอย่าง
มาใส่ในงานอย่างมีชั้นเชิง ก็สื่อได้อย่างชัดเจนแล้ว
เป็น Soft sense ที่หมายถึงสัมผัสได้โดยที่ไม่ต้องทำอารมณ์ให้ลุ่มลึกมากเกินเวลาใช้สอย
....
อ่า - จริงๆจะเขียนเรื่องมุมมองของนักออกแบบรถยนต์ มีผลกับโลกของแบบรถยนต์ในอนาคตอย่างไรต่างหาก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น